ดาวเอ๋ยดาวเรือง : ดอกดาวเรือง

ดาวเอ๋ย ดาวเรือง : ดอกดาวเรือง(Marigold)

    

ที่มาของดอกดาวเรือง 

         ดาวเรืองมีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก ต่อมามีผู้นำเข้าไปปลูกในยุโรป  เนื่องจากเป็นไม้ที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย อีกทั้งดอกมีความสวยงาม  จึงเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย ใช้เป็นดอกไม้หน้าแท่นบูชาพระนางแมรี  และเนื่องจากดอกดาวเรืองดั้งเดิมมีเพียงสีเดียวคือ สีเหลือง จึงเรียกชื่อไม้ดอกชนิดนี้ว่า Mary's gold ต่อมาจึงเพี้ยนไปเป็น Marigolds นอกจากดาวเรืองจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้กระถางแล้วยังใช้ประโยชน์เป็นพืชสีโดยใช้เป็นสีย้อมผ้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ  และในปัจจุบันยังใช้ดอกดาวเรืองผสมในอาหารสัตว์เป็นอาหารเสริมอีกด้วย

ความสำคัญของดอกดาวเรือง

          ดาวเรืองเป็นพืชที่อยู่ในสกุล Tagetes ซึ่งเป็นชื่อเทพ ของชาว Etruscan ดาวเรืองเป็นดอกไม้ที่นิยมอย่างมากในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เม็กซิโก ในเอเชียใต้จะใช้ดาวเรืองสำหรับพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู ส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมใช้บูชาทางศาสนาพุทธและพิธีมงคลต่างๆ ในเม็กซิโกจะใช้ดอกดาวเรืองในเทศกาลวันแห่งความตายเพื่อระลึกถึงวิณญาณบรรพบุรุษ
           พืชในจีนัสเดียวกับดาวเรืองมีประมาณ 50 Species มีทั้งพวกล้มลุก และ พวกยืนต้นอยู่ได้หลายฤดู พืชสกุล Tagetes ในธรรมชาติ พบแพร่กระจายพันธุ์ตามพื้นที่ร้อน และแห้งแล้ง ตามพื้นที่ลาดชัน และก้นหุบเขา แถบ New Mexico ไปจนถึงประเทศอาร์เจนติน่าและมี 1 Species พบที่แอฟริกา
Tagetes erecta (ดาวเรืองอเมริกัน), Tagetes patula (ดาวเรืองฝรั่งเศส) และ Tagetes tenuifolia (ดาวเรือง signet) โดยทั้งหมดมาจากทวีปอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเม็กซิโก ดาวเรืองอเมริกัน สามารถผสมเข้ากับดาวเรืองฝรั่งเศสได้ และให้ลูกผสมที่เป็นหมัน Tagetes erecta ถูกซื้อจากแถวชายฝั่งทะเล แอฟริกา โดยนักบวชชาวสเปนใน ศตวรรษที่ 17 เมื่อมาถึงแอฟริกาแล้วได้ปลูกในธรรมชาติ และพบในป่าโดยพ่อค้าชาวอังกฤษแล้วเขาก็นำไปที่อังกฤษ ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า ดาวเรืองแอฟริกัน ดาวเรืองฝรั่งเศสก็มีที่มาเหมือนกัน แต่เมื่อมาจากแอฟริกาแล้วมาที่ฝรั่งเศส จากนั้นก็มาที่อังกฤษ ดังนั้นจึงเรียกว่า ดาวเรืองฝรั่งเศส
           ในประเทศไทย มีการปลูกดาวเรืองทั่วทุกภาคของประเทศมานาน จนคล้ายกับว่าเป็นพืชพื้นเมือง ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกเมื่อไหร่ ชื่อของดาวเรืองจะเรียกแตกต่างกันไป ในแต่ละภาค แต่มีความหมายคล้ายกัน โดยเรียกตามสีและลักษณะดอก ภาคกลางเรียกว่า ดาวเรือง ภาคเหนือเรียกว่า คำปู้จู้ โดยที่คำแปลว่า ทอง ส่วน ปู้จู้แปลว่า กระจุกแน่น ส่วนดาวเรืองลูกผสม พบว่า ได้มีการสั่งเมล็ดพันธุ์จากประเทศเนเธอร์แลนด์เข้ามาปลูกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2510 จำนวน 4 พันธุ์ คือ Hybrid, Toreador, Double Eagle, Doubloon และ Sovereign ซึ่งแต่ละพันธุ์มีการเจริญเติบโตดี เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้ตัดดอกและไม้ประดับ ยกเว้นพันธุ์ Doubloon โดยที่ก้านไม่ค่อยแข็งแรง ต่อมาจึงมีการสั่งเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจากต่างประเทศมาปลูกเรื่อยมา ส่วนใหญ่จะปลูกทางภาคกลางและภาคเหนือ โดยช่วงแรกนำมาปลูกทดลองในสถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการคัดพันธุ์ที่เหมาะสม ที่จะปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับและใช้ผสมในอาหารเลี้ยงไก่ จากนั้นจึงได้มีการเผยแพร่การปลูกดาวเรือง ไปสู่เกษตรกรและบุคคลทั่วไปประมาณปี พ.ศ. 2522-2524 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะการปลูกเป็นไม้ตัดดอก ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตเป็นไม้ตัดดอก จำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา ทางภาคเหนือของไทยยังมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า คำปู้จู้ คำปู้จู้หลวง และดาวเรืองใหญ่  นิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ซอเวอริน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาเมกาและอื่น ๆ อีกหลายพันธุ์ สำหรับประเทศไทย มีแหล่งปลูกทีสำคัญ คือ จังหวัดพะเยา ลำปาง นนทบุรี กรุงเทพฯ ราชบุรี สมุทรสาคร สุพรรณบุรี และอุดรธานี
          เมื่อรู้ที่มาของดอกดาวเรืองแล้ว....ขอดูหน่อยซิ....
Cr. รัชนี รัตติกาล
 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ดอกดาวเรืองมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเม็กซิโก อเมริการใต้ เป็นไม้ดอกต้นสูง 25-60 ซม. ใบเป็นรูปหอก ปลายแหลม ขอบหยัก ดอกเป็นช่อกระจุกเดี่ยวที่ปลายยอด  ดอกวงนอกกลีบดอกเป็นรูปรางน้ำ โคนเป็นหลอดเล็ก ปลายแผ่  ดอกวงในกลีบดอกเป็นหลอดมีหลายสี เช่น สีส้ม เหลืองทอง ขาว และสองสีในดอกเดียวกัน และมีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน  พันธุ์ที่ใช้ปลูก  เช่น  Panther , Red Brocade , Dusty Rust , Midas Touch , Matador , Petite Gold


 Cr. รัชนี รัตติกาล

การปลูกและดูแลรักษา
            ดาวเรืองเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัด จึงควรปลูกในที่กลางแจ้งให้ได้รับแสงแดดโดยตรงอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง  สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด  แต่ถ้าจะให้ได้ดาวเรืองที่มีพุ่มต้นสมบูรณ์ ดอกดกใหญ่ และมีคุณภาพ แล้ว ดินที่ใช้ปลูกควรมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ และมีการระบายน้ำดี  การรดน้ำก็เป็นไปตามปกติ  นอกเสียจากปลูกดาวเรืองในดินทรายจำเป็นต้องรดน้ำทั้งเช้าและเย็นเพราะดินทรายระบายน้ำได้ดีเกินไป

ดอกดาวเรืองในประเทศไทย

          สำหรับประเทศไทย มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่า ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้นำเข้ามาปลูกเป็นครั้งแรกในกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเจริญงอกงามได้ดีจนปลูกกันดาษดื่นในขณะนั้น และแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่นิยมปลูกเป็นการค้า เนื่องจากตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเทศกาลและวันสำคัญต่างๆ ของไทย

ดอกดาวเรือง ในประเทศไทยนิยมปลูก มี 4 สายพันธุ์

1.พันธุ์ซอฟเวอร์เรน ดอกสีเหลือง กลีบดอกซ้อนกันแน่น สวยงาม ดอกมีขนาดประมาณ 10 ซ.ม
2.พันธุ์ทอรีดอร์ ดอกสีส้ม ขนาดประมาณ 8.5-10 ซ.ม
3.พันธุ์ดับเบิล อีเกิล ดอกสีเหลือง ขนาดประมาณ 8.5 ซ.ม และมีก้านดอกแข็ง
4.พันธุ์ดาวเรืองเกษตร เป็นดาวเรืองที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเข้ามาทดลองปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่โครงการเกษตรที่สูง และได้คัดเลือกพันธุ์ไว้ได้ 2 พันธุ์ คือ ดาวเรืองเกษตร พันธุ์สีทองเบอร์ 1 และดาวเรืองเกษตร พันธุ์สีทองเบอร์ 4 เป็นพันธุ์ที่มีดอกสีเหลืองทองขึ้นได้ดีในสภาพของประเทศไทย และให้ผลิตสูง

ดอกดาวเรือง ถือเป็นไม้ดอกไม้ประดับ เป็นไม้มงคล ที่เชื่อว่า ปลูกดอกดาวเรืองแล้ว จะช่วยนำเงินทองเข้าบ้าน เพราะสีเหลืองทองอร่ามของดอกดาวเรือง ก็เปรียบเสมือนกับมีเงินทองเต็มบ้าน และยิ่งถ้าหากปลูกไว้หน้าบ้าน หรือในบริเวณบ้านให้ออกดอกเยอะๆ จะยิ่งเสริมให้มีโชคลาภ ทำกิจการอะไรก็ก้าวหน้า

นอกจากนี้ ดอกดาวเรือง ยังเป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณทางยา ช่วยรักษา และบรรเทาอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ตั้งแต่ ดอก ใบ ลำต้น ไปถึงราก อาทิ
     ๑.ราก มีสรรพคุณใช้เป็นยาระบาย
     ๒.ลำต้น ช่วยแก้อาการจุกเสียด อาการปวดท้อง
     ๓.ใบ แก้อาการหูเจ็บ ปวดหู เป็นยาขับลม
     ๔.ดอก ใช้เป็นยาฟอกเลือด เวียนศีรษะ แก้ตาเจ็บ ตาบวม ตาแดง ปวดตา แก้ไข้สูงในเด็กที่มีอาการชัก ฯลฯ
     คนไทยทราบดีว่า ดอกดาวเรือง ซึ่งมีสีเหลืองอร่าม ถูกใช้เป็นสัญญลักษณ์แทนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีความหมายที่ลึกซึ้ง คือ ทรงนำความชื่นบาน ความเจริญ มาสู่ประเทศชาติบ้านเมือง และคนไทย ได้สำนึกต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ อันเป็นที่รักยิ่ง ในเวลาอันใกล้นี้ ดอกดาวเรือง ดอกไม้ประจำรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะบานสะพรั่งทั่วผืนแผ่นดินขวานทอง และเชื่อว่า จะยังเบ่งบานอยู่ในใจคนไทยตราบนานเท่านาน


           ขณะนี้ทั่วประเทศไทย สีเหลืองจากดอกดาวเรืองกำลังบานสะพรั่ง เพื่อน้อมส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งคุณสมบัติในแง่สรรพคุณของดาวเรือง สามารถนำมารับประทานได้ และมีฤทธิ์ทางยา โดยเฉพาะช่วยบำรุงสายตา และคุณประโยชน์อีกมากมาย
           ได้ดูข่าว การสัมภาษณ์ ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทย รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งเคยให้สัมภาษณ์คมชัดลึกว่า ดาวเรือง ช่วยปกป้องดวงตา โดยนำดอกดาวเรืองไปต้มน้ำกินหรืองชงในน้ำร้อนจัดกิน สามารถกินได้ทั้งน้ำและเนื้อ โดยสารสีเหลืองในดาวเรือง จะมีสารที่เรียกว่าสารลูทีน ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับที่มีอยู่มากบริเวณจุดโฟกัสของจอประสาทตา ช่วยดูดซับแสงสีฟ้า และแสงยูวี  จากงานวิจัยพบว่าผู้ที่มีสารลูทีนและซีแซนทีสะสมที่จอประสาทตามาก จะมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดต้อกระจกและโรคจอประสาทตาเสื่อม 
           ภญ.กฤติยา ไชยนอก สํานักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่บทความ "ปลูกดาวเรืองด้วยน้ําตาไหลริน...น้อมสงเสด็จพระภูมินทรงสู่สวรรคาลัย" ในเวบไซต์สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลตอนหนึ่งว่า ดาวเรืองใหญ่ (Marigold) เป็นไม้ล้มลุก สูง 15 - 60 ซม. ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปวงรี ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมี 2 ลักษณะ คือ ดอกไม่สมบูรณ์เพศอยู่รอบนอกจํานวน มากสีเหลืองหรือเหลือง ส้ม ลักษณะคล้ายลิ้นบานแผ่ออก ซ้อนกันหลายชั้น ปลายม้วนลง ดอกสมบูรณ์เพศมี ลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ จํานวนมาก รวมกลุ่มอยู่บริเวณกลางช่อดอก ผล
         สรรพคุณ แผนโบราณระบุว่า
          - ต้น ขับลมในลําไส้ แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด
          - ใบ แก้ฝีหนอง
          - ดอก แก้ปวดฟัน แก้ตาเจ็บ บํารุงตับ ขับร้อน ขับลม ละลายเสมหะ แก้เวียนหัว แก้ตาแดงตาเจ็บเนื่องจากลมและไฟ แก้แผลมีหนอง ขับ ของเสีย
          สารสําคัญที่พบในดอกดาวเรืองเป็นสารให้สีในกลุ่มแคโรทีนอยด์ คือ ลูทีน (lutein) พบประมาณ 88% และซีแซนทีน (zeaxanthin) พบประมาณ 5% ซึ่งทั้ง 2 ชนิดเป็นแคโรทีนอยด์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็น วิตามินเอ ในร่างกายได เรียกกลุ่มย่อยนี้ว่า แซนโทฟ์ล นอกจากนี้ยังพบสารสําคัญในกลุ่มฟลาโวนอยด์, เทอพีนอยด์ และสเตรอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ทางเภสัช วิทยามากมาย 
          การใช้ในอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ที่สามารถนํามารับประทานได้ซึ่งอาจนํามาโรยในสลัด ทําเป็นเมี่ยงดอกไม้ ยําดอกไม้หรือนํามาชุบแป้งทอด นอกจากนี้ ยังนิยมนําน้ําคั้นจากส่วนดอกที่มีสีเหลืองส้มมาแต่งสีให้กับอาหาร เครื่องดื่ม และขนมของหวานต่างๆ เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษสําหรับการ นําดอกดาวเรืองมาใช้กับอาหารก็คือ ควรเป็นดอกดาวเรืองที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงหรือเป็นดอกดาวเรืองที่ปลูกเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสารพิษจากยาฆ่าแมลงที่อาจปนเปลื้อนมาได้
          นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้เพื่อการ บํารุงสายตา ซึ่งมีส่วนประกอบของสารลูทีนและซีแซนทีนด้วย เนื่องจากลูทีนและซีแซนทีนมีบทบาทสําคัญใน การปกป้องดวงตา โดยเชื่อว่าสารประกอบทั้งสองนี้ ทําหน้าที่เป็นสารต้านออกซิเดชันเพื่อป้องกันเซลล์รับแสง จากอนุมูลอิสระที่เซลล์สร้างขึ้นเนื่องมาจากมีปริมาณออกซิเจนสูง และจากการถูกแสง และยังเชื่อว่าสารประกอบทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการกรองคลื่นแสงสีฟ้าที่ เป็นคลื่นแสงที่มีพลังงานสูง โดยมีการประมาณว่าจะสามารถกรองคลื่นแสงสีฟ้าลงได้ถึง 40% ก่อนที่แสงจะตก ถึงแมคูลา ซึ่งเป็นจุดโฟกัสของดวงตา เนื่องจากลูทีนและซีแซนทีนจะมีแถบดูดกลืนแสง อยู่ที่ใกล้ๆ ส่วนปลายของแถบสีที่คนมองเห็นคือส่วนปลายที่เป็น สีฟ้าถึงสีม่วง ทําให้มีคุณสมบัติในการกรองคลื่นแสงสีฟ้าได้ดีดังนั้นจะสามารถลดสภาวะความเครียด ออกซิเดชันต่อจอประสาทตาได้อย่างมีนัยสําคัญ   
           ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจ การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของดอกดาวเรืองมีเป็นจํานวนมาก โดยพบว่าดาวเรืองมีฤทธิ์ต้านอนุมูล อิสระ ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งหลายชนิด มีฤทธิ์ขับพยาธิตัวกลม และยับยั้งการวางไขของพยาธิดังกล่าว ต้านอาการซึมเศร้า ช่วยให้หลับ คลายความกังวล ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ต้านเบาหวานลดไขมัน ฆ่าแมลง กําจัดยุง ต้าน อักเสบ และบรรเทาปวด แม้ว่าการศึกษาทั้งหมดจะยังอยู่ในระดับเซลล์และหลอดทดลอง แต่ก็นับว่า ดอกดาวเรืองและสารสําคัญต่างๆ มีแนวโน้มที่ดีในการนํามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ จะช่วยบรรเทาอาการของโรคต่างๆ ได้ในอนาคต



ความคิดเห็น